ชนิดของพืช
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อคนและสัตว์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งอาหารและอากาศซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนและสัตว์และยังช่วยสร้างสมดุลให้แก่ธรรมชาติ ซึ่งพืชในโลกนี้มีอยู่มากมายหลายชนิด นักวิทยาศาสตร์จึงได้ใช้เกณฑ์ต่าง ๆ ในการจัดหมวดหมู่พืช เกณฑ์ที่ใช้ในการจัดหมวดหมู่พืชที่แสดงถึงสายสัมพันธุ์ของพืชที่ใกล้ชิดที่สุดคือ การจำแนกพืชโดยการสืบพันธุ์ ซึ่งทำให้สามารถแบ่งพืชได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ พืชมีดอก และพืชไม่มีดอก
พืชมีดอก ยังสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว คือพืชที่มีใบเลี้ยงเพียงใบเดียว เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะเห็นข้อและปล้องในส่วนของลำต้นชัดเจน ใบมักมีลักษณะแคบเรียว เส้นใบเรียงตัวในแนวขนาน กลีบดอกมีจำนวน3 กลีบ หรือทวีคูณของ 3 รากเป็นระบบรากฝอย ตัวอย่างพืชใบเลี้ยวเดี่ยว เช่น อ้อย หญ้า ไผ่
พืชใบเลี้ยงคู่ คือพืชที่มีใบเลี้ยง 2 ใบ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะเห็นข้อและปล้องในส่วนของลำต้นไม่ชัดเจน ใบมีลักษณะกว้าง เส้นใบแตกแขนงเป็นร่างแห รากเป็นระบบรากแก้ว กลีบดอกมีจำนวน 4 - 5 กลีบหรือทวีคูณของ4 – 5 ตัวอย่างพืชใบเลี้ยงคู่ได้แก่ ถั่ว พริก มะม่วง
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว คือพืชที่มีใบเลี้ยงเพียงใบเดียว เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะเห็นข้อและปล้องในส่วนของลำต้นชัดเจน ใบมักมีลักษณะแคบเรียว เส้นใบเรียงตัวในแนวขนาน กลีบดอกมีจำนวน3 กลีบ หรือทวีคูณของ 3 รากเป็นระบบรากฝอย ตัวอย่างพืชใบเลี้ยวเดี่ยว เช่น อ้อย หญ้า ไผ่
พืชใบเลี้ยงคู่ คือพืชที่มีใบเลี้ยง 2 ใบ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะเห็นข้อและปล้องในส่วนของลำต้นไม่ชัดเจน ใบมีลักษณะกว้าง เส้นใบแตกแขนงเป็นร่างแห รากเป็นระบบรากแก้ว กลีบดอกมีจำนวน 4 - 5 กลีบหรือทวีคูณของ4 – 5 ตัวอย่างพืชใบเลี้ยงคู่ได้แก่ ถั่ว พริก มะม่วง
ไม้ดอก
ความหมายและความสำคัญไม้ดอก ปัจจุบันไม้ดอกไม้ประดับมีความจำเป็นต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์มากขึ้น
ทั้งนี้เพราะมนุษย์มิใช่มีความต้องการเฉพาะปัจจัยสี่เท่านั้น แต่ยังต้องการจัดสภาพแวดล้อม
ที่อยู่อาศัยให้เกิดความร่มรื่น สวยงามน่าอยู่อีกด้วย เช่น มีการจัดสวน
ตกแต่งอาคาร สถานที่ บ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน โรงเรียน และสถานที่ต่าง ๆ
ให้เกิดความสวยงาม ตลอดจนการใช้ไม้ดอก ไม้ประดับ ในการจัดตกแต่งประดับจานอาหาร
โต๊ะอาหารในภัตตาคารต่าง ๆ จึงเห็นได้ว่า
การผลิตไม้ดอกไม้ประดับเพื่อการค้านับวันจะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น
และมีมูลค่าของผลิตภัณฑ์สูงเท่าเทียมกับผลิตผลทางการเกษตรสาขาอื่น ๆ ดังนั้น
การปลูกไม้ดอกไม้ประดับจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการประกอบอาชีพที่น่าสนใจไม้ประดับ
ไม้ประดับ หมายถึง พืชที่ปลูกขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากรูปร่าง รูปทรง สีสันของลำต้นและใบ พืชชนิดนี้จะมีรูปทรง รูปร่าง สีสีนของลำต้นและใบสวยงามแตกต่างกันไป นิยมปลูกประดับตกแต่งอาคารสถานที่ทั้งในพื้นดินและในกระถาง มีทั้งไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม้พุ่ม และไม้ล้มลุก เช่น ปาล์มต่าง ๆ ข่อย สนชนิดต่าง ๆ ไทรยอดด่าง ฤาษีผสม เฟิร์นชนิดต่าง ๆ สาวน้อยประแป้ง ว่านกาบหอย เป็นต้น
หวายถัก
ส้านชวา
พืชไม้ผล
พืชไม้ผล หมายถึง ผลที่เกิดจากการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศของพืชบางชนิด ซึ่งมนุษย์สามารถรับประทานได้ และส่วนมากจะไม่ทำเป็นอาหารคาว ตัวอย่างผลไม้ เช่น ส้ม แอปเปิ้ล กล้วย มะม่วง ทุเรียน รวมถึง มะเขือเทศ ที่สามารถจัดได้ว่าเป็นทั้งผักและผลไม้
ผลไม้ = ผล + ไม้
คำนี้จึงสามารถอธิบายได้ว่า สิ่งที่เป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตจำพวกพืช โดยลักษณะรวมๆ จะมีรูปทรงคล้ายทรงกลมหรือทรงรี ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันบ้างตามสายพันธุ์ โดยปกติผลไม้จะต้องมีเปลือกหรือมีสิ่งที่ห่อหุ้มเนื้อที่อยู่ข้างใน ซึ่งมักจะถูกนำไปเป็นอาหารโดยมนุษย์หรือสัตว์ ในส่วนของการเจริญเติบโต สามารถขยายพันธุ์ได้โดยดอก เมล็ด หรือ อื่นๆ ซึ่งผลไม้ที่ออกมานี้ตอนแรกจะมีขนาดเล็กและมักจะไม่ค่อยถูกนำมารับประทานโดยมนุษย์ แต่เมื่อเติบโตจนสุกงอม จะมีลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิม คือ เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอม และรสหวาน จนสามารถนำมารับประทานหรือประกอบอาหาร ส่วนมากมักจะเป็นอาหารหวาน
ขนุน
พืชผักสวนครัว
พืชผักสวนครัว หมายถึง พืชที่ใช้ส่วนต่างๆ เป็นอาหาร เช่น ลำต้น ใบ ดอก ผล และหัว พืชผักสวนครัวสามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านเพื่อใช้บริโภคภายในครอบครัว ถ้าเหลือก็สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัวพืชผักสวนครัวเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกลือแร่ และวิตามิน การบริโภค
ตะไคร้
โหระพา
ส่วนประกอบของพืช
พืช มีส่วนประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. ราก เป็นส่วนประกอบของพืช ซึ่งส่วนมากอยู่ในดินมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของพืชและตามประเภทของราก ราก มีหน้าที่ ยึดลำต้น ดูดน้ำ ดูดสารอาหาร ส่งไปยังลำต้นปลายสุดของรากจะมีหมวกราก พืชใบเลี้ยงคู่จะมีรากแก้วจึงทำให้หาอาหารและน้ำได้มากทำให้พืช
สูงใหญ่และมีอายุยืน เช่น มะม่วง ขนุน กระท้อน ฯลฯ ส่วนพืช ใบเลี้ยงเดี่ยวไม่มีรากแก้ว แต่จะมี รากฝอย พืชใบเล้ยงเดี่ยวจึงหาอาหารและดูดน้ำได้น้อย พืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีต้นเล็กและอายุไม่ยืน เช่น ข้าว ข้าวโพด หญ้าต่างๆ
ราก มี 3 ชนิด คือ
1. Primary root หรือ รากแก้ว (tap root) มีลักษณะ ตอนโคนจะโตแล้วค่อยเรียวเล็กลงไปจนถึงปลาย จะยาวและใหญ่กว่ารากอื่นๆที่แยกออกไป ทำหน้าที่ เป็นหลักรับส่วนอื่นๆให้ทรงตัวอยู่ได้ รากชนิดนี้พบในพืชใบเลี้ยงคู่ที่งอกออกจากเมล็ดโดยปกติ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่งอกออกจากเมล็ดใหม่ๆก็มีรากระบบนี้เหมือนกันแต่มีอายุได้ไม่นานก็เน่าเปื่อยไปแล้วเกิดรากชนิดใหม่ขึ้นมาแทน (รากฝอย)
รากแก้ว
2. Secondary root หรือ รากแขนง(lateral root หรือ branch root) เป็นรากที่เจริญเติบโตออกมาจาก รากแก้ว มักงอกเอียงลงไปในดินจนเกือบขนานหรือขนานไปกับพื้นดิน รากชนิดนี้อาจแตกแขนงออกเป็นทอดๆ ได้อีกเรื่อยๆ ทั้งรากแขนงและแขนงต่างๆที่ยื่นออกไปเป็นทอดๆต่างกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อเพริไซเคิลในรากเดิมทั้งสิ้น
รากแขนง
3. Adventitious root หรือ รากวิสามัญ เป็นรากที่ไม่ได้กำเนิดมาจากรากแก้วหรือรากแขนง รากชนิดนี้อาจแตกออกจากโคนต้นของพืช ตามข้อของลำต้นหรือกิ่ง ตามใบหรือจากกิ่งตอนของไม้ผลทุกชนิด แยกเป็นชนิดย่อยได้ตามรูปร่างและหน้าที่ ได้ดังนี้
- รากฝอย (fibrous root) เป็นรากเส้นเล็กๆมากมาย ขนาดโตสม่ำเสมอกันไม่ไม่เรียวลงที่ปลายอย่างรากแก้ว งอกออกจากรอบโคนต้นแทนรากแก้วที่ฝ่อเสียไปหรือที่หยุดเตอบโต พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่
รากฝอย
- รากค้ำจุ้น (Prop root) เป็นรากที่แตกออกมาจากข้อของลำต้น ที่อยู่ใต้ดิน และเหนือดินขึ้นมาเล็กน้อย และพุ่งแทงลงไปในดิน เพื่อพยุงลำต้นเอาไว้ไม่ให้ล้มง่าย เช่น รากค้ำจุนของต้นข้าวโพด ต้นลำเจียก ต้นโกงกาง
รากค้ำจุ้นต้นโกงกาง
- รากเกาะ (Climbing root) เป็นรากที่แตกออกมาจากข้อของลำต้นแล้วมาเกาะตามหลักหรือเสา เพื่อพยุงลำต้นให้ติดแน่นและชูลำต้นขึ้นที่สูง เช่นรากของพลู พลูด่าง กล้วยไม้
ภาพรากเกาะ
ภาพ รากสังเคราะห์แสงของกล้วยไม้
- รากหายใจ (Respiratory root) รากพวกนี้เป็นแขนงงอกออกจากรากใหญ่ที่แทงลงไปในดินอีกทีหนึ่ง แต่แทนที่จะงอกลงไปในดินกับชูปลายขึ้นมาเหนือดินหรือผิวน้ำ บางทีก็ลอยตามผิวน้ำ เช่น
รากต้นลำพูซึ่งเป็นรากหายใจ
- รากกาฝาก (Parasitic root) เป็นรากของพืชบางชนิดที่เป็นปรสิต เช่น รากของต้นกาฝากและต้นฝอยทอง
รากกาฝาก
- รากสะสมอาหาร (storage root) เป็นรากที่ทำหน้าที่ในการสะสมอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล หรือโปรตีนเอาไว้ทำให้มีลักษณะอวบอ้วนเรามักเรียกว่า หัว เช่น หัวแครอท หัวมันเทศ หัวมันมแกว มันสำปะหลัง กระชาย เป็นต้น
2. ลำต้น เป็นส่วนประกอบของพืชสูงต่อจากรากขึ้นมา ลำต้นประกอบด้วย เปลือก ท่อน้ำและท่ออาหารหากเป็นพืชใบเลี้ยงคู่จะมีส่วนที่แข็งแกร่งเรียกว่าแก่น ลำต้น ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ อาหาร ชูกิ่งก้านของพืชให้ได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง บางชนิดจะมีลำต้นสูงใหญ่ บางชนิดมีลำต้นเล็ก
ลำต้น แบ่งออกได้ 2 ประเภท
1. ครีพพิง สเต็ม (creeping stem) เป็นลำต้นที่ทอดหรือเลื้อยขนานไปตามผิวดินหรือน้ำทั้งนี้เพราะลำต้นอ่อนไม่สามารถตั้งตรงอยู่ได้ตามข้อมักมีรากงอกออกมาแล้วแทงลงไปในดินเพื่อช่วยยึดลำต้นให้แน่นอยู่กับที่ได้ แขนงที่แยกไปตามพื้นดินหรือพื้นน้ำดังกล่าวนั้น เรียกว่า stolon(สโตลอน) หรือ Runner (รันเนอร์) ได้แก่ ผักบุ้ง แตงโม ฟักทอง ผักตบชวา ผักกะเฉด สตอเบอรี่
แตงโม ภาพ ลำต้นชนิดครีพพิง สเต็ม (creeping stem)
2. ไคลบบิง สเต็ม ( Climbing stem)เป็นลำต้นที่เลื้อยหรือไต่ขึ้นที่สูง พืชพวกนี้มักมีลำต้นอ่อนเช่นเดียวกับพวกแรก แต่ถ้ามีหลักหรือต้นไม้ที่มีลำต้นตรงอยู่ใกล้ๆมันอาจจะไต่ขึ้น ที่สูงด้วยวิธีต่างๆดังนั้นจึงจำแนก climbing stem ออกเป็นชนิดต่างๆตามลักษณะของการไต่ได้ดังนี้
2.1 ทวินนิง สเต็ม (twining stem)เป็นลำต้นที่ไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้ลำต้นพันหลักเป็นเกลียวไป เช่น ต้นถั่วต้นบอระเพ็ดและเถาวัลย์ต่างๆ
เถาวัลย์ ภาพ ลำต้นแบบ ไคลบบิง สเต็ม ( Climbing stem)
2.2 มือเกาะ (tendril stem) เป็นลำต้นที่ดัดแปลงไปเป็นมือเกาะ(tendril) สำหรับพันหลักเพื่อไต่ขึ้นที่สูง ส่วนของเทนดริลจะบิดเป็นเกลียวคล้ายลวดสปริงเพื่อให้ยืดหยุ่นเมื่อลมพัดยอดเอนไปมา เทนดริลก็จะยืดและหดได้ เช่น ต้นองุ่น บวบ น้ำเต้า ฟักทอง แตงกวา
หมายเหตุ เทนดริลอาจจะเป็นใบที่เปลี่ยน มาก็ได้แต่จะทราบว่าเป็นใบหรือลำต้นนั้นต้องศึกษาถึงต้นกำเนิดและตำแหน่งที่งอกออกมา เช่น ถ้า งอกออกตรงซอกใบก็แสดงว่ามาจากลำต้น หรือถ้าหากมีลักษณะเป็นข้อปล้องก็แสดงว่ามาจากลำต้นเหมือนกัน
เถาองุ่น ภาพ มือเกาะของต้นองุ่น
2.3 รูท ไคลบบิง (root climbing) เป็นลำต้นที่ไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้รากที่งอกออกมาตามข้อยึดกับหลักหรือต้นไม้ เช่น ต้นพริกไทย ต้นพลู และพลูด่าง
ภาพ รากเกาะของพริกไทย
2.4 หนาม (stem spine) เป็นลำต้นที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นหนามรวมทั้งขอเกี่ยว(hook) สำหรับไต่ขึ้นที่สูง และป้องกันอันตรายได้ด้วย เช่น เฟื่องฟ้า มะนาว มะกรูดพวกส้มต่างๆ ไผ่ และไมยราบ ต้นกระดังงา *หนามของพืชบางชนิดอาจเปลี่ยนแปลงมาจากใบก็ได้ มีวิธีสังเกตุแบบเดียวกับเทนดริล
ภาพต้นส้ม
1. แง่ง หรือเหง้า หรือ ไรโซม (Rhizome) มักอยู่ขนานกับผิวดิน มีข้อและปล้องเห็นได้ชัดเจน ตามข้อมีใบที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นสีน้ำตาลใบนี้ไม่มีคลอโรฟิลล์มักเรียกว่าใบเกล็ด ห่อหุ้มตาเอาไว้ภายใน ตาเหล่านี้อาจแตกแขนงเป็นลำต้นที่อยู่ใต้ดินหรือ แตกเป็นใบเป็นมัดขึ้นมาเหนือดิน ลำต้นชนิดนี้ถ้ามีการสะสมอาหารไว้มากก็จะอวบอ้วนขึ้น เช่น ขมิ้น ขิง
ภาพ ลำต้นใต้ดินของขมิ้น
2. ทูเบอะ (Tuber) เป็นลำต้นใต้ดินที่เติบโตมาจากปลายไรโซม ประกอบด้วยปล้องประมาณ 3-4ปล้องเท่านั้นตามข้อไม่มีใบเกล็ดและรากมีอาหารสะสมอยู่มากจึงทำให้อวบอ้วนกว่าไรโซมตรงที่อยู่ของตาจะไม่อ้วนขึ้นมาด้วยจึงเห็นตาบุ๋มลง เช่นหัวมันฝรั่ง หัวมันมือเสือ มันกลอย
ภาพ ลำต้นแบบทูเบอะของมันฝรั่ง
3. บัลบ (bulb) เป็นลำต้นที่ตั้งตรงอาจตั้งตรงพ้นดินขึ้นมาบ้างเป็นลำต้นเล็กๆมีปล้องสั้นมากตามปล้องมีใบเกล็ดห่อหุ้มลำต้นเอาไว้ จนเห็นเป็นหัวขึ้นมา อาหารจะสะสม ในใบเกล็ด แต่ในลำต้นจะไม่มีอาหารสะสม ตอนล่างของลำต้นจะมีรากฝอย งอกออกมาเป็นเส้นเล็กๆ เช่น
ภาพ หัวหอม
4. คอร์ม (Corm) เป็นลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรงเหมือนกับ บัลบ แต่จะมีอาหารละสมอยู่ในลำต้น แทนที่จะสะสมไว้ในใบเกล็ด จึงทำให้ลำต้นอ้วนมากเห็นข้อได้ชัดเจน กว่าบัลบ ตามข้อมีใบเกล็ดบางๆมาห่อหุ้ม มีตางอกออกตามข้อเป็นใบสู่อากาศ หรือ เป็นลำต้นใต้ดินต่อไปเช่นเผือกซ่อนกลิ่นฝรั่ง
ภาพลำต้นแบบคอร์มของแห้ว
3. กิ่ง เป็นส่วนประกอบของพืชที่งอกออกมาจากลำต้น มีลักษณะคล้ายกับลำต้นทุกประการ กิ่ง มีหน้าที่ชูก้านใบของพืชให้ได้รับอากาศ และแสงแดดให้ ได้มากที่สุด
4. ใบ เป็นส่วนประกอบของพืช ที่งอกออกจากกิ่ง ใบเป็นส่วนประกอบที่มีจำนวนมากที่สุดในพืชที่มีใบ ใบประกอบด้วยส่วนที่เป็นสีเขียว เรียกว่า คลอโลฟีลล์ ใบ มีหน้าที่ปรุงอาหาร โดยการสังเคราะห์ด้วยแสง นอกจากนี้ใบยังทำหน้าที่หายใจในเวลากลางคืนโดยการดูดอ๊อกซิเจนแล้วคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ใบที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษ (Modified leaf) ได้แก่
4.1 มือเกาะ (leaf tendril) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นมือเกาะเพื่อพยุงลำต้นให้ไต่ขึ้นที่สูงได้ อาจเปลี่ยนแปลงมาจากใบหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของใบ เช่น มือเกาะของถั่วลันเตา มะระ ตำลึง
ภาพต้นมะระ
4.2 หนาม (Leaf spine) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นหนาม เพื่อใช้เป็นเครื่องป้องกัน อันตรายต่างๆจากศัตรูหรือสัตว์ ที่จะมากิน และป้องกันการระเหยของน้ำ อาจเปลี่ยนแปลงมาจากใบหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของใบก็ได้ เช่นหนามของต้นเหงือกปลาหมอ เปลี่ยนแปลงมาจากขอบใบและหูใบ หนามของต้นกระบองเพชรและ เปลี่ยนแปลงมาจากใบทั้งใบ หนามของมะขามเทศเปลี่ยนแปลงมาจากหูใบ หนามของสับปะรด เปลี่ยนแปลงมาจากขอบใบ
ต้นกระบองเพชร
4.3 ใบสะสมอาหาร (Storage leaf)เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็น อวัยวะสำหรับเก็บหรือสะสมอาหารหรือน้ำ ใบประเภทนี้จะมีลักษณะอวบอ้วน เนื่องจากเก็บอาหาร และอมน้ำไว้มาก เช่น ใบเลี้ยงของพืชต่างๆ ใบว่านหางจระเข้ กลีบหัวหอม และ กลีบของกระเทียม
ว่านหางจระเข้
ข่า
5. ดอก เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพืช ดอกจะมีลักษณะและสีที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดของพืช ประกอบไปด้วย ก้านดอก กลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย ดอก มีหน้าที่สืบพันธุ์ โดยการถ่ายละอองเรณูจากเกสรตัวผู้ไปยังเกสรตัวเมีย ทำให้เกิดการสัมผัสกันระหว่าง เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ กับ เซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมีย
6. ผลและเมล็ด เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพืช ผลไม้เจริญมาจากรังไข่ ด้านในของผลจะมีเมล็ดซึ่งพืชใช้ขยายพันธุ์
ประเภทของเมล็ดพันธุ์
· เมล็ดพันธุ์คัด (Breeder Seed)คือเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตขึ้นโดย นักปรับปรุงพันธุ์ซึ่ง ต้องทำการคัดเลือก เฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณสมบัติ ตามที่นักปรับปรุงพันธุ์ กำหนดคิดค้นขึ้นมา ภายใต้การควบคุม/ตรวจพันธุ์อย่างถี่ถ้วน เมล็ดพันธุ์คัดจะนำไปปลูกเป็นพันธุ์หลักในปีต่อไป
· เมล็ดพันธุ์หลัก (Foundation Seed)คือเมล็ดพันธุ์ที่ได้จาก การปลูกด้วย เมล็ดพันธุ์คัด ภายใต้คำแนะนำ และวิธีการ ของนักปรับปรุงพันธุ์ ของกรมวิชาการเกษตร หรือสถาบันวิชาการ เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ และลักษณะประจำพันธุ์ของพืชนั้นๆ เมล็ดพันธุ์หลัก ที่ได้นำไปปลูกเป็นพันธุ์ขยายต่อไป
· เมล็ดพันธุ์ขยาย (Registered Seed)คือเมล็ดพันธุ์ที่ได้จาก การปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์หลัก โดยเกษตรกร ที่ได้รับการคัดเลือก ให้เป็นผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์ ภายใต้การควบคุมดูแล และให้คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ และเจ้าหน้าที่ ผลิตเมล็ดพันธุ์ ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว กรมการข้าว
· เมล็ดพันธุ์จำหน่าย (Certified Seed)คือเมล็ดพันธุ์ที่ได้จาก การปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ขยาย โดยเกษตรกร แปลงขยายพันธุ์ด้วย การปฏิบัติตามวิธีการ ที่ได้รับคำแนะนำ จากเจ้าหน้าที่ฝ่าย วิชาการ ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว กรมการข้าว เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่ายให้แก่เกษตรกรทั่วไป
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว-ใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
คือ พืชที่มีใบเลี้ยงเพียงใบเดียว เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะเห็นข้อและปล้องในส่วนของลำต้นชัดเจน ใบมักมีลักษณะแคบเรียว เส้นใบเรียงตัวในแนวขนาน กลีบดอกมีจำนวน 3 กลีบ หรือทวีคูณของ 3 รากเป็นระบบรากฝอย ตัวอย่างพืชใบเลี้ยวเดี่ยว เช่น ข้าวโพด อ้อย หญ้า ไผ่ เป็นต้นลักษณะพืชเลี้ยงใบเดี่ยว
-ลักษณะเส้นใบเรียงกันแบบขนาน
-มีระบบรากฝอย
-ลำต้นมองเห็นข้อปล้องชัดเจน
-ไม่มีการเจริญทางด้านข้าง
-ส่วนประกอบของดอก เช่นกลีบดอก มีจำนวนเป็น 3 หรือทวีคูณของ 3
ภาพพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
คือ พืชที่มีใบเลี้ยง 2 ใบ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะเห็นข้อและปล้องในส่วนของลำต้นไม่ชัดเจน ใบมีลักษณะกว้าง เส้นใบแตกแขนงเป็นร่างแห รากเป็นระบบรากแก้ว กลีบดอกมีจำนวน 4 - 5 กลีบ หรือทวีคูณของ 4 – 5 ตัวอย่างพืชใบเลี้ยงคู่ได้แก่ ถั่ว พริก มะม่วง เป็นต้น
ลักษณะพืชใบเลี้ยงคู่
-มีใบเลี้ยง 2 ใบ
-ลักษณะเส้นใบเป็นร่างแห
-มีระบบรากแก้ว
-ลำต้นมองเห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน
-การเจริญออกทางด้านข้าง
-ส่วนประกอบของดอกคือ กลีบดอกมีจำนวนเป็น 4-5 หรือ ทวีคูณของ 4-5
ต้นพริก
ประโยชน์ที่ได้จากพืช
ประโยชน์จากพืช
-สามารถรักษาโรคบางชนิดได้ โดยไม่ต้องใช้ยาแผนปัจจุบัน ซึ่งบางชนิดอาจมีราคาแพง และต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก อีกทั้งอาจหาซื้อได้ยากในท้องถิ่นนั้น ให้ผลการรักษาได้ดีใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบันและให้ความปลอดภัยแก่ผู้ใช้มากกว่าแผนปัจจุบัน
-สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นเพราะส่วนใหญ่ได้จากพืชซึ่งมีอยู่ทั่วไปทั้งในเมืองและ ชนบท มีราคาถูก สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาแผนปัจจุบัน ที่ต้องสั่งซื้อจากต่าง ประเทศเป็นการลดการขาดดุลทางการค้า
-ใช้เป็นยาบำรุงรักษาให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง
-ใช้เป็นอาหารและปลูกเป็นพืชผักสวนครัวได้ เช่น กะเพรา โหระพา ขิง ข่า ตำลึง
-ใช้ในการถนอมอาหารเช่น ลูกจันทร์ ดอกจันทร์และกานพลู
-ใช้ปรุงแต่ง กลิ่น สี รส ของอาหาร เช่น ลูกจันทร์ ใช้ปรุงแต่งกลิ่นอาหารพวก ขนมปัง เนย ไส้กรอก แฮม เบคอน
-สามารถปลูกเป็นไม้ประดับอาคารสถานที่ต่าง ๆ ให้สวยงาม เช่น คูน ชุมเห็ดเทศ
-ใช้ปรุงเป็นเครื่องสำอางเพื่อเสริมความงาม เช่น ว่านหางจระเข้ ปรนะคำดีควาย
-ใช้เป็นยาฆ่าแมลงในสวนผัก, ผลไม้ เช่น สะเดา ตะไคร้ หอม ยาสูบ
-เป็นพืชที่สามารถส่งออกทำรายได้ให้กับประเทศ เช่น กระวาน ขมิ้นชัน เร่ว
-เป็นการอนุรักษ์มรดกไทยให้ประชาชนในแต่ละท้องถิ่น รู้จักช่วยตนเองในการ นำพืชสมุนไพรในท้องถิ่นของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามแบบแผนโบราณ
-ทำให้คนเห็นคุณค่าและกลับมาดำเนินชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติยิ่งขึ้น
-ทำให้เกิดความภูมิใจในวัฒนธรรม และคุณค่าของความเป็นไทย
-ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ที่มาชนิดของพืช http://scienceplant.wikispaces.com/
http://lumphaya.stkc.go.th/about/514.html
ที่มาส่วนประกอบของพืช https://sites.google.com/site/reiynruxxnli/swn-prakxb-khxng-phuch
และ http://scienceplant.wikispaces.com
ที่มาพืชใบเลี้ยงเดี่ยว- คู่ http://scienceplant.wikispaces.com/
ที่มาประโยชน์ที่ได้จากพืช http://scienceplant.wikispaces.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น